วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

หิ่งห้อยมีแสงได้อย่างไร




หิ่งห้อย เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่สามารถผลิตแสงได้ด้วยตนเอง พบเห็นได้ทุกพื้นที่ในประเทศไทย มีขนาดตั้งแต่ 2 มิลลิเมตร ไปจนถึง 10 เซนติเมตร สีของแสงหิ่งห้อยที่พบในไทยจะเป็นสีเหลืองและน้ำตาล มันมีอายุขัยประมาณ 1 เดือน แสงที่หิ่งห้อยเปล่งออกมาเป็นพลังงานแสงร้อยละ 90 อีกร้อยละ 10 เป็นพลังงานความร้อน
การที่หิ่งห้อยเรืองแสงได้ เพราะเซลส์จากอวัยวะการสร้างแสงของหิ่งห้อยจะผลิตสารสีขาวที่ชื่อว่า ลูซิเฟอริน (Luciferin)
จากนั้นหิ่งห้อยจะควบคุมการเปล่งแสง โดยบังคับอากาศที่ได้จากการหายใจเข้าไป เมื่ออ๊อกซิเจนในอากาศสัมผัสกับสารลูซิเฟอริน และทำปฏิกิริยากับเอมไซม์ชื่อ Luciferase หิ่งห้อยก็จะปล่อยพลังงานออกมาเป็นแสงได้ ฉะนั้นแสงจะสว่างหรือดับจึงขึ้นอยู่กับการหายใจของหิ่งห้อยนั่นเอง
หิ่งห้อยไม่ได้เปล่งแสงเพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นการส่งสัญญาณเพื่อการหาคู่ ซึ่งหิ่งห้อยแต่ละชนิดจะมีจังหวะการกระพริบแสงที่แตกต่างกัน ฉะนั้นหิ่งห้อยแต่ละชนิดจึงจดจำการกระพริบแสงของพวกเดียวกันได้ จึงทำให้เกิดการผสมพันธุ์ที่ถูกกับชนิดของหิ่งห้อยนั้น ๆ
“หิ่งห้อย” เป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็กอาศัยอยู่ตามใบไม้ เมื่อผสมพันธ์แล้วจะวางไข่ฟองเดี่ยวตามดิน หรือที่ชื้นแฉะ ไข่ฟักเป็นตัวหนอนมี 4-5 วัน เข้าดักแด้ และเป็นตัวเต็มวัย หิ่งห้อยมีชีวิตอยู่ 3-12 เดือน แล้วแต่ละชนิด หิ่งห้อยก็จะกะพริบแสงเพื่อสื่อหาคู่ของมันมาผสมพันธ์ แสงของหิ่งห้อยเกิดจากกระบวนการทางเคมี ซึ่งมีสารลูวิเฟอรินทำปฏิกิริยากับออกซิเจน เช่น ปฏิกิริยาลูซิเฟอเรส และได้รับพลังงาน เอทีพี เป็นโปรตีนที่ให้พลังงานในเซลล์ หิ่งห้อยชอบอกหากินในเวลากลางคืน โดยบริเวณที่มีน้ำที่สะอาด และบริเวณป่าโกงกางป่าชายฝั่งทะเล และต้นลำพู ตัวหนอนของหิ่งห้อยอาศัยอยู่ในน้ำที่สะอาด หิ่งห้อยนี้ยังสามารถบอกความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศได้ด้วย หิ่งห้อยเรืองแสงได้ทั้งตัวผู้และตัวเมีย หิ่งห้อยกินสัตว์เล็กๆ เป็นอาหาร แสงของหิ่งห้อยมีสีเขียวเหลือง หิ่งห้อยที่บินว่อนตามพุ่มไม้เป็นหิ่งห้อยตัวผู้ ตัวเมียชอบเกาะนิ่งตามกิ่งไม้ใบไม้ ในยามกลางวันมันจะไม่กะพริบแสงเลย แต่เมื่อถึงเวลาโพล้เพล้มันก็จะเริ่มโชว์ตัว และมันจะกระทำกิจกรรมกะพริบแสงทุก 24 ชั่วโมง เสมือนมันมีนาฬิกาใจในตัว
เพราะเวลาเรานำหิ่งห้อยมาขังในห้องมืดที่แสงสว่างไม่สามารถเล็ดลอดเข้ามาได้เลย เราก็จะเห็นว่าในทุก 24 ชั่วโมง มันจะกะพริบแสงทั้งๆ ที่มันไม่รู้เลยว่า ขณะนั้นเป็นเวลาอะไร เราจะเห็นได้ว่าเวลาที่หิ่งห้อยกะพริบแสงนั้น จะกะพริบพร้อมๆ กันแต่ถ้าเราแยกหิ่งห้อยออกจากกลุ่ม จะสังเกตเห็นการกะพริบแสงของหิ่งห้อยแตกต่างกันไป เพราะถ้าหิ่งห้อยอยู่ในฝูงของมันหิ่งห้อยจะมีการปรับตัวเอง โดยการกะพริบแสงที่เหมือนกัน แล้วหิ่งห้อยยังสามารถบอกถึงฤดูกาลได้อีกด้วย ยามหิ่งห้อยออกหากินคือยามโพล้เพล้แล้วพระอาทิตย์ตกดินเล็กน้อย หรือในคืนข้างแรม เราจะพบว่ามันกะพริบแสงเหมือนไฟต้นคริสต์มาส มนุษย์รู้จักหิ่งห้อยมา 2000 ปี มาแล้ว คนจีนโบราณและชาวบราซิลในอดีตจะจับหิ่งห้อยใส่ขวดแก้ว เพื่อนใช้แทนตะเกียง ต้องใช้หิ่งห้อยโตเต็มที่เพียง 6 ตัว ให้แสงสว่างก็เพียงพอสำหรับอ่านหนังสือในเวลากลางคืนได้ คนญี่ปุ่นก็นิยมใช้ตะเกียงหิ่งห้อยเช่นกัน ทุกวันเราจะพบหิ่งห้อยที่เอเชียตอนใต้ เช่น ไทย พม่า มาเลเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และใต้ ในโลกเรามีหิ่งห้อยราว 2000 ชนิด ลำตัวหิ่งห้อย ยาว 2-25 มิลลิเมตร
แหล่งที่อยู่อาศัย
เนื่องจากหิ่งห้อย มักจะออกหากินในเวลากลางคืน และหลบซ่อนตัวในเวลากลางวัน ส่วนใหญ่หิ่งห้อยอาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ หรือตามพื้นที่ชุ่มชื้นใกล้หนองน้ำ หรือลำธารที่มีน้ำใสสะอาด และที่สำคัญตรงนั้นต้องเป็นน้ำนิ่ง ตลอดจนบริเวณป่าโกงกาง ชายฝั่งทะเล ในระยะตัวเต็มวัยหิ่งห้อยมักเกาะอยู่ตามต้นลำพู และต้นลำแพนโพทะเล ต้นฝาก ต้นแสม ต้นสาคู และต้นเหงือกปลาหมอ โดยเฉพะป่าชายเลน ที่มีแหล่งอาหารสมบูรณ์ ชาวบ้านมักจะเรียกต้นไม้ที่มีหิ่งห้อยเกาะว่า “โกงกางหิ่งห้อย ” หิ่งห้อยที่เราเห็นบินว่อนตามพุ่มไม้ส่วนใหญ่มักเป็นตัวผู้ ส่วนหิ่งห้อยตัวเมียนั้น ชอบเกาะนิ่งตามกิ่งไม้
จากการที่หิ่งห้อย ชอบอาศัยตามแหล่งน้ำที่สะอาด ในช่วงวัยที่เป็นหนอนหิ่งห้อย ทำให้หิ่งห้อยเป็นตัวที่บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ หรือ เสื่อมโทรมของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น