วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ตะลึง!ที่ดินจิ๋วพื้นที่เล็กที่สุดในประเทศไทย


 
 ถ้าได้เป็นเจ้าของที่ดินสักผืน หลายคนคงเตรียมที่จะปลูกสร้างอะไรสักอย่างให้งอกเงย เช่น สร้างบ้าน สร้างหอพัก สร้างคอนโด เป็นต้น แต่ว่าถ้าที่ดินที่คุณมีอยู่ในครอบครองมีขนาดแค่ 0.1 ตารางวาเท่านั้นล่ะ จะทำอย่างไรกับที่ดินผืนนั้นดี? รายการวีไอพี (25 มิถุนายน) มีคำตอบมาฝากกันค่ะ เพราะจะพาไปรู้จักกับเจ้าของที่ดินผืนที่เล็กที่สุดในประเทศไทย ว่าเขาเอาที่ดินผืนนั้นไปทำอะไร ถ้าอยากรู้ต้องไปติดตามกันเลย ..

       คุณศรีศักดิ์ ว่องส่งสาร อดีตผู้บริหาร บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย คือผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินผืนเล็กที่สุดในประเทศไทยดังกล่าว โดยคุณศรีศักดิ์เล่าถึงที่มาที่ไปว่า ที่ดินผืนนี้มีหลักฐานการครอบครองเป็นโฉนดที่ดินเหมือนกับที่ดินผืนอื่น ๆ ซึ่งครอบครัวของตนครอบครองโฉนดมา 51 ปีแล้ว
       ทั้งนี้เริ่มตั้งแต่ คุณแม่ของตนไปซื้อที่ดินผืนละ 100 ตารางวาเอาไว้ 1 ผืน แต่เมื่อถึงวันไปรับโฉนดกลับได้รับมา 2 ฉบับ ฉบับแรกเป็นที่ดิน 100 ตารางวาถูกต้องตามที่ซื้อ แต่อีกฉบับเป็นที่ดินขนาดเพียง 0.1 ตารางวาเท่านั้น คุณพ่อก็แปลกใจแต่ก็เก็บเอาไว้เป็นที่ระลึก เพราะเข้าใจว่าได้แถมมาก็ดี เมื่อตนเองเห็นโฉนดที่ดินผืนดังกล่าวจึงเอ่ยปากขอกับคุณพ่อคุณแม่ เพื่อนำมาสร้างเป็นอนุสรณ์เขียนบอกเป็นที่ระลึกว่านี่คือผืนดินผืนที่เล็กที่สุดในประเทศไทย จากนั้นจึงนำโฉนดจำลองไปมอบให้กับกรมที่ดิน เพื่อเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์กรมที่ดิน รวมทั้งมีการใส่กรอบสำเนาที่ดินผืนดังกล่าวเพื่อมอบให้กับกรมที่ดินเขตบางเขนอีกด้วย   โดยที่ดินผืนดังกล่าวอยู่ในซอยรามอินทรา 8 แยก 4 มีขนาดเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียกว่าพื้นที่ชายธง โดยมีความยาว 1.36 เมตร (136 เซนติเมตร) ทั้งสองด้าน และมีฐานกว้าง 0.44 เมตร (44 เซนติเมตร) และหากคำนวณออกมาเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ก็จะมีขนาดเท่ากับ 63.245 x 63.245 เซนติเมตรนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันมีการก่อสร้างแท่นคอนกรีตเต็มพื้นที่ เพื่อจารึกไว้ว่าที่ดินผืนนี้เป็นที่ดินที่เล็กที่สุดในประเทศไทย
         ขณะที่นายชัชวาล เชิดไชยศักดา เจ้าพนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครเขตบางเขน ก็ยืนยันว่าที่ดินผืนดังกล่าวเป็นที่ดินที่เล็กที่สุดในประเทศไทยจริง โดยเจ้าของเดิม 18 คน เคยร่วมกันซื้อที่ดินผืนใหญ่แล้วนำมาแบ่งกรรมสิทธิ์กันเป็น 21 แปลง ทำให้เหลือเศษที่ดินแปลงดังกล่าว ส่วนมูลค่าที่ดินผืนดังกล่าวจากการประเมินอยู่ที่แปลงละ 17,000 บาท แต่เนื่องจากขนาดของที่ดินมีเพียง 0.1 ตารางวา ทำให้มีมูลค่าอยู่ที่ 1,700 บาท นั่นเอง
          แหม! ไม่น่าเชื่อเลยว่าจะมีผู้ที่ครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินขนาดเล็กมาก ๆ แบบนี้ด้วย ใครอยากเห็นที่ดินที่เล็กที่สุดในประเทศไทยกับตาตัวเอง ก็สามารถแวะไปชมได้ที่ซอยรามอินทรา 8 แยก 4 เลยจ้ะ เจ้าของที่ดินเขาไม่หวง แถมยังภาคภูมิใจอีกด้วยล่ะ ใครได้แวะไปมาแล้วอย่าลืมแชะภาพมาฝากกันเป็นที่ระลึกด้วยนะจ๊ะ

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รูปแบบของฐานข้อมูล


1.ฐานข้อมูลแบบลำดับขั้น (Hierarchical Database)
เป็นลักษณะของฐานข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง หรือ แบบหนึ่งต่อกลุ่ม แต่จะไม่มีความสัมพันธ์แบบกลุ่มต่อกลุ่มในฐานข้อมูลแบบนี้
ลักษณะโครงสร้างของฐานข้อมูลแบบลำดับขั้นนี้ จะมีลักษณะคล้ายต้นไม้ที่คว่ำหัวลง จึงอาจเรียกโครงสร้างฐานข้อมูลแบบนี้ได้อีกแบบว่าเป็น โครงสร้างแบบต้นไม้ (Tree Structure) โดยจะมีระเบียนที่อยู่แถวบนซึ่งจะเรียกว่าเป็น ระเบียนพ่อแม่ (Parent record) ระเบียนในแถวถัดลงมาจะเรียกว่า ระเบียนลูก (Child record) ซึ่งระเบียนพ่อแม่จะสามารถมีระเบียนลูกได้มากกว่าหนึ่งระเบียน แต่ระเบียนลูกแต่ละระเบียนสามารถมีระเบียนพ่อแม่ได้เพียงหนึ่งระเบียนเท่านั้น
 ฐานข้อมูลแบบลำดับขั้นในระบบ GIS
 โครงสร้างฐานข้อมูลแบบลำดับขั้น
การค้นคืนข้อมูลในฐานข้อมูลแบบลำดับขั้น จะต้องทำเป็นลำดับชั้นตามโครงสร้าง คือ
ถ้าต้องการสอบถามข้อมูลโรงงานในแต่ละอำเภอว่ามีตำบลอะไรบ้าง จะต้องสอบถามเป็นลำดับขั้น ซึ่งสามารถสอบถามในครั้งเดียว เนื่องจากเอนติตี้ของตำบล เชื่อมโยงโดยตรงกับเอนติตี้อำเภอนั่นเอง แต่ เมื่อต้องการสอบถามข้อมูลโรงงานในแต่ละอำเภอว่ามีโรงงานอะไรบ้าง จำนวนเท่าไร จะต้องสอบถามเป็นลำดับขั้น ไม่สามารถสอบถามในครั้งเดียว เนื่องจากเอนติตี้ของโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ได้เชื่อมโยงโดยตรงกับเอนติตี้อำเภอนั่นเอง ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการสอบถามข้อมูลลดลง คือ
ขั้นแรก จะต้องสอบถามว่าในอำเภอหนองเสือ (2807) มีตำบลใดบ้าง จากตารางขอบเขตอำเภอ
ขั้นที่สอง สอบถามว่าในตำบลที่เลือกไว้แล้วนั้นมีโรงงานใดอยู่ในตำบลดังกล่าวบ้าง จากตารางตำบลซึ่งเชื่อมโยงกับโรงงานอุตสาหกรรมนั่นเอง
การสอบถามหรือค้นคืนข้อมูลจากฐานข้อมูลแบบลำดับขั้นจึงขาดประสิทธิภาพ หรือลดความรวดเร็วในการสอบถาม เนื่องจากมีเอนติตี้ระหว่างกลาง (Intermediate entity)
2. ฐานข้อมูลแบบเครือข่าย (Network Database)
ข้อมูลภายในฐานข้อมูลแบบนี้สามารถมีความสัมพันธ์กันแบบใดก็ได้ เช่นอาจเป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง หนึ่งต่อกลุ่ม หรือกลุ่มต่อกลุ่ม และไม่จำเป็นต้องมีลำดับชั้นที่สูงกว่า ซึ่งจะทำให้การค้นคืนข้อมูลเป็นไปได้โดยง่ายขึ้นกว่าแบบลำดับขั้น
 แสดงฐานข้อมูลแบบเครือข่าย
3. ฐานข้อมูลแบบเชิงสัมพันธ์ (Relational Database)
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์เป็นฐานข้อมูลที่มีความนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งสามารถใช้งานได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกระดับตั้งแต่ไมโครคอมพิวเตอร์ จนกระทั่งถึงเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ฐานข้อมูลแบบนี้จะมีโครงสร้างข้อมูลต่างจากฐานข้อมูลสองแบบแรก กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกเก็บอยู่ในรูปแบบของ ตาราง (Table) ซึ่งภายในตารางก็จะแบ่งออกเป็น แถว (Row) และ คอลัมน์ (Column) แต่ละตารางจะมีจำนวนแถวได้หลายแถวและจำนวนคอลัมน์ได้หลายคอลัมน์ แต่ละแถวสามารถเรียกได้อีกอย่างว่า ระเบียนหรือเรคคอร์ด (Record) คอลัมน์ในแต่ละคอลัมน์สามารถเรียกได้ว่า เขตข้อมูลหรือฟิลด์ (Field)
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์สามารถค้นคืนรายละเอียดด้วยการเชื่อมตารางต่างๆ ตั้งแต่ 2 ตารางขึ้นไป โดยการใช้คุณลักษณะของ Field ที่เหมือนกันที่อยู่ในทุกๆ ตาราง ซึ่งขั้นตอนหรือการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างตารางนี้เรียก “การปฏิบัติการเชื่อมความสัมพันธ์” (Join Operation) และจะได้ตารางใหม่ที่ทำการเชื่อมข้อมูลแล้ว ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลที่ต้องการได้ ซึ่งการค้นคืนในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นี้จะมีประสิทธิภาพอย่างมากเพราะช่วยให้เกิดความหลากหลายในการประยุกต์ใช้งานมากขึ้น
การปฏิบัติการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างตารางจะจัดเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกันให้อยู่ตารางเดียวกัน ซึ่งมีข้อดีคือทำให้สามารถค้นคืนข้อมูลได้ในเวลาอันรวดเร็วกว่าการจัดเก็บไว้ในหลายๆ ตาราง แต่มีข้อเสียคือการที่นำข้อมูลต่างๆ ที่สัมพันธ์กันมาไว้ในตารางเดียวกันก็จะทำให้ปริมาณข้อมูลที่จัดเก็บในตารางก็เพิ่มขึ้นด้วย
 
 4. .ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ  (The Object-Oriented  Database Model)                                      
 ฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น แบบเครือข่าย และฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ล้วนจัดเก็บเฉพาะข้อมูล ไว้ในฐานข้อมูล             ส่วนชุดคำสั่งที่ใช้ในการดำเนินการกับฐานข้อมูลจะจัดเก็บไว้ในซอฟแวร์ระบบจัดการฐานข้อมูลแยกต่างหาก แต่ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ จัดเก็บทั้งข้อมูลและชุดคำสั่งไว้ด้วยกัน จึงสามารถใช้งานร่วมกันได้โดยอัตโนมัติ ทำให้ฐานข้อมูลชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการจัดเก็บและจัดการ แต่มีการนำมาใช้งานน้อยกว่าฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เนื่องจากมีความยุ่งยากซับซ้อนมากกว่า   



















    5.ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ-สัมพันธ์ (The Object-Relational  Database Model)


    สร้างขึ้นเพื่อให้ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์สามารถเพิ่มคุณสมบัติของแบบจำลองเชิงวัตถุเข้าไปได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ในด้านการออกแบบข้อมูลใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงระบบฐานข้อมูลเดิม โดยสิ่งที่เพิ่มขึ้นมาจากแบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ คือ สามารถสร้างชนิดข้อมูลที่กำหนดเองได้




วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มัลดีฟส์ ประกาศเป็นเขตอนุรักษ์ทางทะเลใหญ่ที่สุดในโลก

มัลดีฟส์มัลดีฟส์

มัลดีฟส์
มัลดีฟส์
   ประธานาธิบดีมัลดีฟส์ ประกาศให้ หมู่เกาะมัลดีฟส์ เป็นเขตอนุรักษ์ทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปี 2560
 
       วันที่ 21 มิถุนายน 2555 เว็บไซต์โกลบอลโพสต์ รายงานว่า ประธานาธิบดี วาฮีด ของมัลดีฟส์ ประกาศให้หมู่เกาะมัลดีฟส์ทั้งหมดกลายเป็นเขตอนุรักษ์ทางทะเล ในปี 2560 และสถานะเขตอนุรักษ์ทางทะเลของหมู่เกาะมัลดีฟส์ทั้ง 1,192 เกาะ มีแนวโน้มที่จะดึงดูดความสนใจจากนานาประเทศ ให้มาลงทุนในโครงการนำร่องเพื่อหากลวิธีใหม่ ๆ ที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์ธรรมชาติและความยั่งยืน
 
       โดยประธานาธิบดี วาฮีด กล่าวในที่ประชุมสหประชาชาติริโอ +20 ว่าด้วยประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมให้คำมั่นว่า "ผมขอใช้โอกาสนี้ประกาศความมุ่งมั่นของรัฐบาลของผมว่า ในปี 2560 เราจะทำให้หมู่เกาะมัลดีฟส์ทั้งหมดได้เป็นประเทศแรกในโลกที่ทั้งประเทศกลายเป็นเขตอนุรักษ์ทางทะเล ที่ซึ่งเป็นเขตอนุรักษ์ทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก"
 
       นอกจากนี้ ประธานาธิบดีมัลดีฟส์ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ข้อตกลงนี้สะท้อนให้เห็นว่า เราให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของเราอย่างมาก เราได้ใช้มาตรการเหล่านี้เพื่อพิทักษ์แนวปะการัง บึงน้ำเค็ม เกาะหินปะการัง และหาดทรายหินปะการัง มัลดีฟส์จะดำเนินการใด ๆ ที่จำเป็น เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับอนาคตของเรา
 
       ทั้งนี้ เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2554 Baa Atoll ซึ่งประกอบไปด้วยเกาะทั้งหมด 75 เกาะในมัลดีฟส์ ได้รับการประกาศให้เป็นเขตสงวนชีวมณฑล (Biosphere Reserve) ขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาติ หรือยูเนสโก ซึ่งรัฐบาลมัลดีฟส์ ได้ใช้ความพยายามที่จะรักษาสถานะดังกล่าวไว้ เพื่อเป็นต้นแบบให้กับเกาะต่าง ๆ ของมัลดีฟส์ต่อไป
 



65 จังหวัดทั่วประเทศเสี่ยงเกิดไฟป่า




นายศักดิ์ชัย จงกิจวิวัฒน์ ผอ.ส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกันปราบปรามและควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช  เปิดเผยว่า สถานการณ์ไฟป่าที่ผ่านมานั้นมีหลายพื้นที่ทั่วประเทศค่อนข้างเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า ซึ่งหากเราดำเนินการป้องกันไว้ล่วงหน้าก่อนถึงช่วงไฟป่ามาถึงนั้นคาดว่าจะได้ผลดีและเกิดการสูญเสียจากไฟป่าน้อยลง โดยในการป้องกันและควบคุมไฟป่า กรมอุทยานฯได้จัดพื้นที่ตามลักษณะความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า 3 ระดับ ตามลักษณะเชื้อเพลิงในแต่ละสภาพป่า รวม 65 จังหวัด คือ 1. พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าสูง 2. พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าปานกลาง และ 3. พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าต่ำ
นายศักดิ์ชัย  กล่าวต่อว่า สำหรับพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าสูง 27 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูนเชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำปาง แพร่ น่าน ตาก สุโขทัย
อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร อุทัยธานี ชัยภูมิ นครราชสีมา เลย สกลนคร อุดรธานี อุบลราชธานี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช และนราธิวาส พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าปานกลาง 28 จังหวัด  ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์ หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว ชุมพร และสุราษฎร์ธานี และพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าต่ำ 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ตรัง ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา และสตูล ดังนั้นในแต่ละปีกรมอุทยานฯได้จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับไฟป่าในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง.

แม่เจ้า! หนุ่มมะกันถุงอันฑะบวมหนัก 100 ปอนด์


(21มิ.ย.) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ชายชาวอเมริกันมีขนาดลูกอัณฑะใหญ่ผิดปกติ ซึ่งลูกอัณฑะของเขามีน้ำหนักกว่า 100 ปอนด์ อีกทั้งยังไม่ยอมเข้ารับการผ่าตัด
Wesley Warren Jr อยู่ที่เมืองลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา ผู้ที่มีขนาดลูกอัณฑะหนักกว่า 100 ปอนด์มีขนาดใหญ่เสียจนราวกับว่ามีลูกแตงโมอยู่ระหว่างขาของเขาแพทย์พยายามเสนอให้เขาได้รับการผ่าตัดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่เขายังยืนกรานปฏิเสธ
นอกจากนี้เขายังได้รับเชิญให้ไปร่วมรายการโทรทัศน์ชื่อดังมากมายอย่าง (Comedy Central)Tosh.0 และ Travel & Living (TLC) อีกด้วย โดยเขาให้สัมภาษณ์ว่าจริงอยู่เขาต้องทุกข์ทรมาณจากอาการผิดปกติอย่างรุนแรงของลูกอัณฑะเขาต้องใส่กางเกงขายาวและมีขนาดใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามเขายังหวังว่าจะมีผู้หญิงสักคนที่เข้าใจและพร้อมจะร่วมทางเดินไปด้วยกัน
แม่เจ้า! หนุ่มมะกันถุงอันฑะบวมหนัก 100 ปอนด์

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การบ้านครั้งที่ 1



       Spatial distribution       การกระจายเชิงพื้นที่

                  เป็นการกระจัดกระจายตัวหรือการกระจุกตัวที่อยู่ในพื้นที่ จะอยู่ในลักษณะที่กระจุกตัวบางพื้นที่หรือแยกกระจายอาจจะอยู่ใกล้กันหรือไกลกันขึ้นอยู่กับบริเวณพื้นที่ต่างๆ เช่น การกระจายตัวของประชากร การใช้ภาษาในแต่ละพื้นที่ การกระจายตัวของโรคระบาด




       Spatial differrentiation    ความแตกต่างเชิงพื้นที่

                    ความแตกต่างเชิงพื้นที่เป็นความแตกต่างในหลายๆด้านทั้งที่อยู่อาศัย เช่น ความแตกต่างด้านศาสนาและวัฒนธรรม ความแตกต่างทางสังคม หรือแม้กระทั่งความหลากหลายทางชีวภาพ



          

      Spatial difussion       การแพร่กระจายเชิงพื้นที่

                       การแพร่กระจายเชิงพื้นที่เป็นการแพร่กระจายจากพื้นที่หนึ่งไปยังพื้นที่หนึ่ง เช่น การแพร่กระจายของนวัตกรรมต่างๆ การแพร่กระจายของโรคระบาดต่างๆ การแพร่กระจายของนกที่อพยพ



        

       Spatial interaction    การปฎิสัมพันธ์เชิงพื้นที่

                 พื้นที่ที่ทำกิจกรรมจะสัมพันธ์กับพื้นที่อื่นและพื้นที่นั้นๆ ในแต่ละส่วนของกิจรรมจะแยกออกตามเขตพื้นที่ของตัวเองในพื้นที่แต่ละส่วน หรือการปฏิสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์ เช่น การเกิดดินถล่ม  เมื่อฝนตกหนัก น้ำจะซึมลงไปในดินอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ดินอุ้มน้ำจนอิ่มตัว แรงยึดเกาะระหว่างมวลดินจะลดลง



 

       Spatial temporal   ช่วงเวลาในเชิงพื้นที่

               ช่วงเวลาในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไปในช่วงของการแบ่งเขตเวลา การกระทำหรือกิจกรรมก็จะต่างกันออกไป เช่น การเคลื่อนที่ของรถยนต์ในช่วงเวลาด่วน รวมทั้งกิจกรรมและพฤติกรรมการใช้ถนนในช่วงเวลาที่กำหนดภายในขอบเขตของ พื้นที่ออกมาในรูปแบบจำลอง 3 มิติ ซึ่งผลที่ได้สามารถนำมาอธิบายถึงความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ในแต่ละช่วงเวลากับ รูปแบบการใช้เส้นทางจราจร ที่สะท้อนให้เห็นถึงความหนาแน่นในช่องทางจราจรที่ใช้กันเป็นประจำ





วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ระบบสารสนเทศ คือ อะไร ข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือ สารสนเทศ ต่างกันยังไง?

ความหมายของข้อมูล 

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยังไม่มีการประมวลไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ไพโรจน์ คชชา, 2542)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2525) ให้ความหมายของ ข้อมูล(Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือ การคำนวณ

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่อยู่ในรูปของตัวเลขหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการประมวลข้อมูล (มนตรี ดวงจิโน, 2546)

" กล่าวโดยสรุป ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล"

ลักษณะข้อมูล
     1. ข้อมูลที่คำนวณไม่ได้ ได้แก่ ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ รหัสประจำตัว
     2. ข้อมูลที่คำนวณได้ ได้แก่ ตัวเลขที่มีความหมายในการคำนวณ


ประเภทของข้อมูล

     1. ข้อมูลเพื่อการวางแผน หมายถึง ข้อมูลที่มีความสำคัญเกี่ยวกับการวางแผนงานการบริหาร ใช้ในการควบคุม การตัดสินใจ โดยได้มีการสรุปเป็นหมวดหมู่เป็นตาราง มีการคำนวณ จัดเรียงลำดับ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สารสนเทศ
     2. ข้อมูลการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
     3. ข้อมูลอ้างอิง หมายถึง ข้อมูลที่เก็บไว้สำหรับอ้างอิง 



ความหมายของสารสนเทศ

สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน (ไพโรจน์ คชชา, 2542)

สารสนเทศ (Information) 
หมายถึง ความรู้หรือข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้รับการประมวลแล้วและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ (มนตรี ดวงจิโน, 2546)

วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542) ได้ให้ความหมาย สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป ซึ่งสารสนเทศมีประโยชน์ คือ
   1. ให้ความรู้
   2. ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
   3. ทำให้เห็นสภาพปัญหา สภาพการเปลี่ยนแปลงว่าก้าวหน้าหรือตกต่ำ
   4. สามารถประเมินค่าได้

" กล่าวโดยสรุป สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้" 


ความหมายของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ กระบวนการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งทำให้เป็นสารสนเทศ การจัดเก็บและการนำเสนอสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์


วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542) ได้ให้ความหมายของ ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง ขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับ
สูง ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูลตังต่อไปนี้
   1. รวบรวมข้อมูลทั้งภายใน ภายนอก ซึ่งจำเป็นต่อหน่วยงาน
   2. จัดกระทำเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมจะใช้ประโยชน์ได้
   3. จัดให้มีระบบเก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการค้นหาและนำไปใช้
   4. มีการปรับปรุงข้อมูลเสมอ เพื่อให้อยู่ในภาพที่ถูกต้องทันสมัย

ขบวนการที่ทำให้เกิดสารสนเทศเรียกว่า “การประมวลผลสารสนเทศ” (Information Processing) และเรียกวิธีการประมวลผลสารสนเทศด้วยเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ” (Information Technology : IT)



แหล่งที่มาของข้อมูลสารสนเทศ
   1. ข้อมูลภายใน หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น ได้แก่ ข้อมูล การปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลงานบุคลากร ข้อมูลงานกิจการนักเรียน
   2. ข้อมูลภายนอก หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นนอกองค์กร ข้อมูลหน่วยงานอื่นๆ

ประโยชน์ของสารสนเทศ
   1. ให้ความรู้ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
   2. ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
   3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
   4. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
   5. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ ลดความซ้ำซ้อน

แนวทางในการจัดทำระบบสารสนเทศ

   1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
   2. การตรวจสอบข้อมูล
   3. การประมวลผล
   4. การจัดเก็บข้อมูล
   5. การวิเคราะห์
   6. การนำไปใช้



ขอบคุณข้อมูลจาก : ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความหมายของคำว่า "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System ) GIS"












ความหมายของคำว่า "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System ) GIS"
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย
GIS เป็นระบบข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ แต่สามารถแปลความหมายเชื่อมโยงกับสภาพภูมิศาสตร์อื่นๆ สภาพท้องที่ สภาพการทำงานของระบบสัมพันธ์กับสัดส่วนระยะทางและพื้นที่จริงบนแผนที่ ข้อแตกต่างระหว่าง GIS กับ MIS นั้นสามารถพิจารณาได้จากลักษณะของข้อมูล คือ ข้อมูลที่จัดเก็บใน GIS มีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ที่แสดงในรูปของภาพ (graphic) แผนที่ (map) ที่เชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) หรือฐานข้อมูล (Database)การเชื่อมโยงข้อมูลทั้งสองประเภทเข้าด้วยกัน จะทำให้ผู้ใช้สามารถที่จะแสดงข้อมูลทั้งสองประเภทได้พร้อมๆ กัน เช่นสามารถจะค้นหาตำแหน่งของจุดตรวจวัดควันดำ - ควันขาวได้โดยการระบุชื่อจุดตรวจ หรือในทางตรงกันข้าม สามารถที่จะสอบถามรายละเอียดของ จุดตรวจจากตำแหน่งที่เลือกขึ้นมา ซึ่งจะต่างจาก MIS ที่แสดง ภาพเพียงอย่างเดียว โดยจะขาดการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับรูปภาพนั้น เช่นใน CAD (Computer Aid Design) จะเป็นภาพเพียงอย่างเดียว แต่แผนที่ใน GIS จะมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ คือค่าพิกัดที่แน่นอน ข้อมูลใน GIS ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย สามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Geocode) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน(รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน